สำรวจเส้นทาง ประสบการณ์ และความคาดหวังของผู้ป่วยที่เคยมีประสบการณ์ตรวจการนอนหลับก่อนและหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของศูนย์โรคการนอนหลับ

Author:

โกสมสัย นิภาพร,ตันตระกูล วิสาข์สิริ,เหลี่ยมสมบัติ สมประสงค์

Abstract

บทนำ: การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus disease 2019, COVID-19) หรือโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในการบริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยโดยเฉพาะในศูนย์โรคการนอนหลับ วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจเส้นทาง ประสบการณ์ และความคาดหวังของผู้ป่วยที่เคยตรวจการนอนหลับก่อนและหลังการระบาดของโรคโควิด-19 วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธี Ethnography โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ผู้ป่วยจากแผนกอายุรกรรมที่เคยเข้าตรวจการนอนหลับก่อนวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563 อย่างน้อย 1 ครั้ง และมีนัดตรวจระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เป็นครั้งที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการ Thematic analysis ผลการศึกษา: เส้นทางของผู้ป่วยตรวจการนอนหลับหลังการระบาดของโรคโควิด-19 เปลี่ยนแปลงไปในบางจุดบริการ ที่เด่นชัดประการหนึ่งคือ ระยะรอตรวจเพิ่มขึ้น (เฉลี่ย 9 เดือน 12 วัน) เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 (เฉลี่ย 3 เดือน 27 วัน) นอกจากนี้ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 85.22) เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 (ร้อยละ 78.17) เนื่องจากปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นแบบไร้สัมผัสและการตรวจระบบทางไกล (Telemedicine) ซึ่งความคาดหวังที่เกิดขึ้น 5 ประเด็น คือ 1) ขั้นตอน เอกสาร และคิวตรวจ 2) ช่องทางการสื่อสาร  3) เครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อม  4) สวัสดิการและอื่น ๆ และ 5) เจ้าหน้าที่ สรุป: จากผลการวิจัยสามารถสรุปเพื่อนำไปปรับปรุงวางแผนช่วงที่เกิดวิกฤตของศูนย์โรคการนอนหลับ โดยปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ลดระยะเวลารอตรวจ การจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง และการบูรณาการเทคโนโลยี  

Publisher

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Reference25 articles.

1. Department of Disease Control. Ministry of Public Health. Health Emergency Response Staff Handbook for the COVID-19 Outbreak in Thailand. March 26, 2020. Accessed February 20, 2024. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

2. Department of Disease Control. Ministry of Public Health. Occupational Health Guidelines for the Prevention and Management of Healthcare Workers Exposed to Novel Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in Hospitals. March 1, 2021. Accessed February 20, 2024. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g_km.php

3. Mahidol University. Announcement of Mahidol University on Teaching Guideline and Routine Work During the State of Emergency in Bangkok: Announced on the 18th October 2020. Published October 18, 2020. Accessed February 20, 2024. https://mahidol.ac.th/2020/announcement-18-10-63/

4. Ramathibodi Sleep Disorders Center, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. Suspension of Sleep Disorders Center Patient Services; 2020. March 19, 2020. Accessed June 1, 2023. https://www.rama.mahidol.ac.th/sleep_disorders/

5. Haraden C, Resar R. Patient flow in hospitals: understanding and controlling it better. Front Health Serv Manage. 2004;20(4):3-15.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3