การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม

Author:

ยิ้มประเสริฐ ณัฐพรORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ในปัจจุบันนี้ภาษาบาลีสันสกฤตเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากกว่าคำที่ยืมจากภาษาอื่น ๆ โดยผู้เรียนเองยังเข้าใจความแตกต่างของภาษายังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่มีมโนทัศน์ของแต่ละภาษา การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย ก่อนและหลังเรียนเรื่องคำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหวายเหนียว (ปุญสิริวิทยา) อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ห้อง ม.2/1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก ระเบียบวิธีการวิจัย: เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้หลักภาษา เรื่อง คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย ที่ใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม จำนวน 5 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมจำนวน 5 ชั่วโมง 2) บอร์ดเกมจำนวน 1 บอร์ดเกมสำหรับวัดความรู้และความเข้าใจของนักเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน (pretest-posttest) เรื่อง คำเรื่อง คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องคำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม ดำเนินการโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนเรื่องคำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.00 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 14.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2) พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเห็นด้วยมากที่สุด โดยเรียงลำดับคือ ด้านบรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ และ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งแต่ละด้านมีรายละเอียดต่อไปนี้         ด้านบรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 คือ นักเรียนมีความสุขในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 คือ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียนรู้ และนักเรียนชื่นชอบการจัดการเรียนรู้ผ่านรูปแบบการสอนแบบมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม เป็นลำดับสุดท้าย         ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ นักเรียนมีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 คือ นักเรียนได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในกิจกรรม ลำดับที่ 2 คือ นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และนักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคำภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทยมากขึ้น เป็นลำดับสุดท้าย         ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 คือ นักเรียนมีความสุขในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 คือ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียนรู้ และ นักเรียนชื่นชอบการจัดการเรียนรู้ผ่านรูปแบบการสอนแบบมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม เป็นลำดับสุดท้าย สรุปผล: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับบอร์ดเกม ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 14.93 เป็น 20 นอกจากนี้ นักเรียนระดับมัธยมศึกษายังได้รับการสนับสนุนอย่างมากสำหรับวิธีนี้ โดยเน้นย้ำถึงคุณค่าของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงบวกและกิจกรรมที่วางแผนไว้อย่างดี นอกเหนือจากข้อได้เปรียบที่สังเกตได้ที่พวกเขาได้รับ

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference26 articles.

1. กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการแบบเรียนภาษาไทยและความสุขในการเรียนรู้สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

2. กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

3. จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

4. ฐาปนีย์ ธรรมเมธา (2557). เอกสารคำสอนรายวิชา 468 301 เรื่อง การเลือกการใช้เสื่อการเรียนการสอน. นครปฐม: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

5. ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3